พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระซุ้มเถาวัลย์...
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.
ขนาดโดยประมาณ กว้าง 1.7 ซ.ม. สูง 2.8 ซ.ม.
"วัดชนะสงคราม" เดิมเป็นวัดเล็กๆซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งนา เรียกกันว่า "วัดกลางนา" สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างมาก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โดยหากพิจารณาจากรูปทรงของพระเจดีย์แต่ละองค์ ตลอดจนกระทั่งทั้งกลุ่มหมู่พระเจดีย์ในบริเวณวัดนั้น เป็นรูปทรงแบบสมัยอยุธยา ความเก่าแก่ของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างก็อยู่ในยุคเดียวกัน สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณะปฏฺิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญสำหรับพระนครเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยโปรดให้พระสงฆ์รามัญมาอยู่วัดนี้ จึงเรียกชื่อวัดว่า"วัดตองปุ" เลียนแบบเดียวกับวัดตองปุซึ่งเป็นวัดพระรามัญในสมัยอยุธยา แต่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าชื่อวัดตองปุมาจากชาวรามัญ หมู่บ้านตองปุ ซึ่งเคยอยู่ในหงสาวดีได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย จึงนำชื่อวัดที่ตนยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจมาตั้งด้วย วัดกลางนาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดตองปุ ต่อมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบถึง 3 ครั้ง รวมถึงศึกใหญ่ที่เรียกกันว่า "สงครามเก้าทัพ" ด้วย พระองค์จึงพระราชทานนามว่า “วัดชนะสงคราม” จนต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารเป็น "วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร" จนปัจจุบัน
วัดชนะสงคราม เคยเป็นวัดที่มีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานโดยเคร่งครัดมาตลอด จนมีชื่อเสียงโด่งดัง ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) จนถึงรัชกาลที่ 2 แม้แต่หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ แห่งวัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) ตามประวัติท่านชาตะกาลในปลายรัชกาลที่ 1 (16 ก.ย. 2353) และมีอายุยืนถึง 111 ปี จึงมรณภาพ (20 ก.ย. 2462) ในช่วงปฐมวัยท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชนะสงครามนี้ เพื่อเรียนพระกัมมัฏฐานจนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงกลับไปอุปสมบทยังภูมิลำเนาเดิม แล้วกลับมาเรียนกัมมัฏฐานต่อ แสดงให้เห็นว่า วัดชนะสงครามนี้เป็นสำนักที่มีพระสมณะนักปฏิบัติที่รุ่งเรืองในอดีต แม้หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ที่ท่านเป็นชาวจังหวัดพิจิตร ที่ห่างไกลโพ้นในยุคนั้น ยังต้องเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดตองปุ แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
พระกรุนี้ได้แตกกรุออกมาเมื่อปี 2496 ตามประวัติเท่าที่มีการบันทึกไว้ ท่านเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น คือท่านเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) ได้สั่งให้พระครูพิศิษฐ์วิหารการ (ศิริ อตฺตาราโม) พร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรได้ไปตรวจดูสถานที่บริเวณหมู่เจดีย์น้อยใหญ่ ใกล้ศาลาชี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ร.ร.วัดชนะสงคราม) เพราะมีผู้มาแจ้งว่า มีคนร้ายลักขุดและพังทำลายพระเจดีย์ สืบเนื่องจากพระลูกวัดได้ไปสำรวจพบร่องรอยการลักลอบขุดจนพระเจดีย์องค์เล็กเสียหาย คนร้ายล้วงเอาของมีค่าที่บรรจุไว้ในพระเจดีย์ไปเกือบหมดสิ้น พระที่พวกเหล่าร้ายทิ้งหลงเหลืออยู่บ้าง มีพระกรุแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ พระโคนสมอแบบอยุธยา พระทรงเทริด ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานในที่นั้น ยังไม่ถูกคนร้ายขุดคุ้ยทำลาย แต่พระเจดีย์องค์นี้ยอดหักแตกร้าวตลอดจากยอดลงมาถึงคอระฆัง บริเวณฐานก็ผุกร่อนหลายแห่ง พิจารณาแล้วหากปล่อยไว้คนร้ายคงขุดทำลายเสียหายได้โดยง่าย และของมีค่าหากบรรจุไว้ อาจถูกคนร้ายขุดเอาไปอีก ทางคณะสงฆ์และคณะกรรมการวัด จึงประชุมและได้เห็นควรให้มีการขุดค้นอย่างเป็นทางการทั้งเจดีย์องค์เล็กและเจดีย์องค์ใหญ่ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ชนะสงคราม มาคอยอำนวยความสะดวกระหว่างการขุด ผลจากการขุดค้นได้พบพระเครื่องพระบูชา ตลอดจนข้าวของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ภายในองค์เจดีย์สร้างเป็นโพรงกลางองค์ถึงคอระฆัง ในนั้นบรรจุพระพิมพ์เนื้อดินดิบเป็นจำนวนมากเก็บลงใส่ปี๊บประมาณ 8 ปี๊บ พบหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้คือ ไม้แกะสลักเป็นรูปพระสงฆ์ห่มดองคาดประคตอก นั่งสมาธิ ลงรัก ปิดทอง ใต้ฐานรูปแกะสลักนี้บรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อนอ่านได้ไม่ชัดเจน พระทองคำแบบพระวัดตะไกรหน้าครุฑบ้างเล็กน้อย จากหลักฐานที่ค้นพบในกรุ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าพระชุดนี้สร้างโดย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในสมัยรัชกาลที่ 1 พระพิมพ์จำนวนมากมายหลายพิมพ์ที่พบ มีพุทธลักษณะสวยงามมาก ทั้งมีลายเครือเถา ที่เรียกกันว่า ซุ้มเถาวัลย์เลื้อย อยู่ในพระทุกพิมพ์ ตามศิลป์ของช่างหลวง หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวเกรียวกราวติดต่อกันอยู่หลายวัน
พระกรุนี้เป็นพระเนื้อดิน ส่วนใหญ่สีดำ มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่เป็นสีน้ำตาลอมแดง แบบสีหม้อใหม่ ทำให้ผู้คนสับสนเข้าใจว่าพระที่มีสีดำเป็นพระเนื้อดินผสมใบลาน แท้ที่จริงแล้วพระกรุนี้เกือบทั้งหมดเป็นพระเนื้อดินดิบ คำว่า "พระเนื้อดินดิบ" นั้นมิได้หมายความว่าเป็นพระพิมพ์ที่ไม่ได้เผา หากแต่การเผาพระกรุนี้นั้นความร้อนอาจไม่สูงมากพอ ทำให้พระยังไม่สุกดี ตามปกติสีของพระเนื้อดินที่เผาจนสุกได้ที่จะเป็นสีหม้อใหม่ อมแดงส้ม ทั่่วกันทั้งผิวนอกทั้งเนื้อใน ทำให้มีความแกร่งสูง แต่พระกรุวัดชนะสงครามนี้ ส่วนใหญ่ยังสุมไฟเผาพระพิมพ์ยังไม่สุกได้ที่ ผิวข้างนอกจึงมักเป็นสีดำ เนื้อหาค่อนข้างเปราะหากเทียบกับพระเนื้อดินกรุอื่นๆ สีของเนื้อพระที่บิ่นแตกหัก ภายในจะเป็นสีอิฐ หรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเป็นหลักการพิจารณาขั้นต้น ที่เซียนพระรุ่นเก่าที่สอนกันมาว่า ถ้าส่องแล้วเห็น "ดำทั้งนอกทั้งใน" แล้วละก็วางได้เลย นอกเหนือจากนั้นพิมพ์พระต้องถูกต้องสวยงามคมชัด
ในด้านพุทธคุณนั้นเรียกว่าครอบจักรวาล ทั้งชื่อที่เป็นมงคล เป็นมหาอำนาจ แคล้วคลาดคงกระพัน ครบสูตร เคยมีตำรวจของ สน.ชนะสงคราม ที่ได้รับแจกพระเมื่อครั้งไปช่วยอำนวยความสะดวกในตอนเปิดกรุ ถูกคนร้ายแทงในขณะปฏิบัติงาน แต่ไม่เข้า โดยขณะนั้นมีเพียงพระกรุวัดชนะสงคราม ติดตัวเพียงองค์เดียว แม้ในปัจจุบันก็ยังมีประสบการณ์ให้เห็นพุทธานุภาพของพระกรุนี้อยู่.
ผู้เข้าชม
36 ครั้ง
ราคา
1980
สถานะ
ยังอยู่
โดย
varavet
ชื่อร้าน
วาสนา พระเครื่อง
ร้านค้า
varavet.99wat.com
โทรศัพท์
0894611699
ไอดีไลน์
0894611699
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 845-2-12340-2
เหรียญ ลป-ศุข ปี 2521 ลป-โต๊ะ,
เหรียญสมเด็จพระนเรศวรรุ่น"สู้"
พิธีจตุรพิธพรชัย ปี 2518 พร้อม
เหรียญ ลพ-เก๋ วัดแม่น้ำ ปี 251
พระสังกัจจายน์ สก- นวะโลหะ 5 ร
ลพ-โสธร 80 ปี กรมตำรวจ ปี 2538
เหรียญปลดหนี้เล็ก ลพ-กวย ปี 42
ลป-โต๊ะ ปี 2472 พร้อมบัตรรับรอ
พระนางพญา ลพ-ถนอม พิธีใหญ่ปี 2
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
apiruk
ภูมิ IR
เจริญสุข
Erawan
Putanarinton
กู่ทอง
ชา พูนสิน
TotoTato
โก้ สมุทรปราการ
somphop
stp253
ep8600
hopperman
kaew กจ.
mon37
kumpha
พีพีพระเครื่อง
vanglanna
Leksoi8
someman
chaithawat
เปียโน
ปลั๊ก ปทุมธานี
เทพจิระ
ทิน ธรรมยุต
jocho
โกหมู
Niti3303
มัญจาคีรี ud
Beerchang พระเครื่อง
ผู้เข้าชมขณะนี้ 910 คน
เพิ่มข้อมูล
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.
รายละเอียด
พระซุ้มเถาวัลย์เลื้อย กรุวัดชนะสงคราม กทม.
ขนาดโดยประมาณ กว้าง 1.7 ซ.ม. สูง 2.8 ซ.ม.
"วัดชนะสงคราม" เดิมเป็นวัดเล็กๆซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งนา เรียกกันว่า "วัดกลางนา" สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างมาก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โดยหากพิจารณาจากรูปทรงของพระเจดีย์แต่ละองค์ ตลอดจนกระทั่งทั้งกลุ่มหมู่พระเจดีย์ในบริเวณวัดนั้น เป็นรูปทรงแบบสมัยอยุธยา ความเก่าแก่ของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างก็อยู่ในยุคเดียวกัน สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณะปฏฺิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญสำหรับพระนครเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยโปรดให้พระสงฆ์รามัญมาอยู่วัดนี้ จึงเรียกชื่อวัดว่า"วัดตองปุ" เลียนแบบเดียวกับวัดตองปุซึ่งเป็นวัดพระรามัญในสมัยอยุธยา แต่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าชื่อวัดตองปุมาจากชาวรามัญ หมู่บ้านตองปุ ซึ่งเคยอยู่ในหงสาวดีได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย จึงนำชื่อวัดที่ตนยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจมาตั้งด้วย วัดกลางนาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดตองปุ ต่อมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบถึง 3 ครั้ง รวมถึงศึกใหญ่ที่เรียกกันว่า "สงครามเก้าทัพ" ด้วย พระองค์จึงพระราชทานนามว่า “วัดชนะสงคราม” จนต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารเป็น "วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร" จนปัจจุบัน
วัดชนะสงคราม เคยเป็นวัดที่มีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานโดยเคร่งครัดมาตลอด จนมีชื่อเสียงโด่งดัง ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) จนถึงรัชกาลที่ 2 แม้แต่หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ แห่งวัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) ตามประวัติท่านชาตะกาลในปลายรัชกาลที่ 1 (16 ก.ย. 2353) และมีอายุยืนถึง 111 ปี จึงมรณภาพ (20 ก.ย. 2462) ในช่วงปฐมวัยท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชนะสงครามนี้ เพื่อเรียนพระกัมมัฏฐานจนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงกลับไปอุปสมบทยังภูมิลำเนาเดิม แล้วกลับมาเรียนกัมมัฏฐานต่อ แสดงให้เห็นว่า วัดชนะสงครามนี้เป็นสำนักที่มีพระสมณะนักปฏิบัติที่รุ่งเรืองในอดีต แม้หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ที่ท่านเป็นชาวจังหวัดพิจิตร ที่ห่างไกลโพ้นในยุคนั้น ยังต้องเดินทางมาศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดตองปุ แห่งนี้ด้วยเช่นกัน
พระกรุนี้ได้แตกกรุออกมาเมื่อปี 2496 ตามประวัติเท่าที่มีการบันทึกไว้ ท่านเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น คือท่านเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) ได้สั่งให้พระครูพิศิษฐ์วิหารการ (ศิริ อตฺตาราโม) พร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรได้ไปตรวจดูสถานที่บริเวณหมู่เจดีย์น้อยใหญ่ ใกล้ศาลาชี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ร.ร.วัดชนะสงคราม) เพราะมีผู้มาแจ้งว่า มีคนร้ายลักขุดและพังทำลายพระเจดีย์ สืบเนื่องจากพระลูกวัดได้ไปสำรวจพบร่องรอยการลักลอบขุดจนพระเจดีย์องค์เล็กเสียหาย คนร้ายล้วงเอาของมีค่าที่บรรจุไว้ในพระเจดีย์ไปเกือบหมดสิ้น พระที่พวกเหล่าร้ายทิ้งหลงเหลืออยู่บ้าง มีพระกรุแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ พระโคนสมอแบบอยุธยา พระทรงเทริด ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานในที่นั้น ยังไม่ถูกคนร้ายขุดคุ้ยทำลาย แต่พระเจดีย์องค์นี้ยอดหักแตกร้าวตลอดจากยอดลงมาถึงคอระฆัง บริเวณฐานก็ผุกร่อนหลายแห่ง พิจารณาแล้วหากปล่อยไว้คนร้ายคงขุดทำลายเสียหายได้โดยง่าย และของมีค่าหากบรรจุไว้ อาจถูกคนร้ายขุดเอาไปอีก ทางคณะสงฆ์และคณะกรรมการวัด จึงประชุมและได้เห็นควรให้มีการขุดค้นอย่างเป็นทางการทั้งเจดีย์องค์เล็กและเจดีย์องค์ใหญ่ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ชนะสงคราม มาคอยอำนวยความสะดวกระหว่างการขุด ผลจากการขุดค้นได้พบพระเครื่องพระบูชา ตลอดจนข้าวของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ภายในองค์เจดีย์สร้างเป็นโพรงกลางองค์ถึงคอระฆัง ในนั้นบรรจุพระพิมพ์เนื้อดินดิบเป็นจำนวนมากเก็บลงใส่ปี๊บประมาณ 8 ปี๊บ พบหลักฐานการสร้างและการบรรจุพระเครื่องชุดนี้คือ ไม้แกะสลักเป็นรูปพระสงฆ์ห่มดองคาดประคตอก นั่งสมาธิ ลงรัก ปิดทอง ใต้ฐานรูปแกะสลักนี้บรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษรขอมเลอะเลือนผุกร่อนอ่านได้ไม่ชัดเจน พระทองคำแบบพระวัดตะไกรหน้าครุฑบ้างเล็กน้อย จากหลักฐานที่ค้นพบในกรุ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าพระชุดนี้สร้างโดย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในสมัยรัชกาลที่ 1 พระพิมพ์จำนวนมากมายหลายพิมพ์ที่พบ มีพุทธลักษณะสวยงามมาก ทั้งมีลายเครือเถา ที่เรียกกันว่า ซุ้มเถาวัลย์เลื้อย อยู่ในพระทุกพิมพ์ ตามศิลป์ของช่างหลวง หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวเกรียวกราวติดต่อกันอยู่หลายวัน
พระกรุนี้เป็นพระเนื้อดิน ส่วนใหญ่สีดำ มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่เป็นสีน้ำตาลอมแดง แบบสีหม้อใหม่ ทำให้ผู้คนสับสนเข้าใจว่าพระที่มีสีดำเป็นพระเนื้อดินผสมใบลาน แท้ที่จริงแล้วพระกรุนี้เกือบทั้งหมดเป็นพระเนื้อดินดิบ คำว่า "พระเนื้อดินดิบ" นั้นมิได้หมายความว่าเป็นพระพิมพ์ที่ไม่ได้เผา หากแต่การเผาพระกรุนี้นั้นความร้อนอาจไม่สูงมากพอ ทำให้พระยังไม่สุกดี ตามปกติสีของพระเนื้อดินที่เผาจนสุกได้ที่จะเป็นสีหม้อใหม่ อมแดงส้ม ทั่่วกันทั้งผิวนอกทั้งเนื้อใน ทำให้มีความแกร่งสูง แต่พระกรุวัดชนะสงครามนี้ ส่วนใหญ่ยังสุมไฟเผาพระพิมพ์ยังไม่สุกได้ที่ ผิวข้างนอกจึงมักเป็นสีดำ เนื้อหาค่อนข้างเปราะหากเทียบกับพระเนื้อดินกรุอื่นๆ สีของเนื้อพระที่บิ่นแตกหัก ภายในจะเป็นสีอิฐ หรือสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งเป็นหลักการพิจารณาขั้นต้น ที่เซียนพระรุ่นเก่าที่สอนกันมาว่า ถ้าส่องแล้วเห็น "ดำทั้งนอกทั้งใน" แล้วละก็วางได้เลย นอกเหนือจากนั้นพิมพ์พระต้องถูกต้องสวยงามคมชัด
ในด้านพุทธคุณนั้นเรียกว่าครอบจักรวาล ทั้งชื่อที่เป็นมงคล เป็นมหาอำนาจ แคล้วคลาดคงกระพัน ครบสูตร เคยมีตำรวจของ สน.ชนะสงคราม ที่ได้รับแจกพระเมื่อครั้งไปช่วยอำนวยความสะดวกในตอนเปิดกรุ ถูกคนร้ายแทงในขณะปฏิบัติงาน แต่ไม่เข้า โดยขณะนั้นมีเพียงพระกรุวัดชนะสงคราม ติดตัวเพียงองค์เดียว แม้ในปัจจุบันก็ยังมีประสบการณ์ให้เห็นพุทธานุภาพของพระกรุนี้อยู่.
ราคาปัจจุบัน
1980
จำนวนผู้เข้าชม
37 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
varavet
ชื่อร้าน
วาสนา พระเครื่อง
URL
http://www.varavet.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0894611699
ID LINE
0894611699
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 845-2-12340-2
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี